For centuries, Thailand has seen a systematic backlash against those who have struggled for a more equal society. Sadly, those who fought for such change were frequently met with violence, often ending with imprisonment, injury or even death. Whether exposing corruption, calling for fairer rights to land, protecting the environment from illegal deforestation and land grabs, to opposing the construction of poorly-conceived development projects, the repercussions have been extreme.
For Those Who Died Trying by British photographer Luke Duggleby looks to preserve the memory of those who lost their lives fighting for what was right. Tracing history back as far as 1973, he went in search of the families and friends of those who were killed across Thailand, requesting a portrait of that person and taking it to the exact location of the crime itself to take his photographs. In total, he has preserved the memory of 56 human rights defenders exhibited here as individual photographs.
The first substantial documentation of the use of violence towards rural community leaders comes between 1973 and 1976 when almost 50 leaders of the Farmers’ Federation of Thailand were documented as being killed or injured. More recently, research by Human Rights NGO Protection International has documented over 70 cases of extrajudicial killings and forced disappearances in Thailand of Women/Human Rights Defenders in the past 30 years.It is vital, for the victims and their families, that their fight and their death should not be forgotten and left un-recognised. And that those who abuse their power with impunity must not go unpunished, as ultimately receiving justice is the beginning of ending these killings.
Yet, we must also remember that many continue to fight for their rights and this body of work also represents their contribution in the community struggle. In particular, the involvement of women human rights defenders who play a vital and instrumental part and who are often under-represented are shown in large individual portraits, alongside in-depth documentaries of specific communities from around the country.
We must know what they died fighting for and we must never forget them.
----------------------------------------------------
พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ ขอเชิญท่านร่วมงานเปิดนิทรรศการ แด่นักสู้ผู้จากไป (และผู้ที่ยังต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนอยู่ต่อไป) ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.00 น.
หลายศตวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุโจมตีทำร้ายอย่างเป็นระบบในประเทศไทยต่อผู้ซึ่งต่อสู้เรียกร้องให้เกิดสังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง มักต้องเผชิญกับความรุนแรง จบลงด้วยการถูกจับกุมคุมขัง การบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้เพื่อเปิดโปงการทุจริต เรียกร้องสิทธิการเข้าถึงที่ดินที่เป็นธรรมมากขึ้น การปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการตัดไม้ทำลายป่าและการกว้านซื้อยึดครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย ไปจนถึงการต่อต้านการก่อสร้างโครงการพัฒนาที่ขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ พวกเขามักต้องเผชิญกับการตอบโต้ที่รุนแรง
นิทรรศการภาพถ่าย “แด่นักสู้ผู้จากไป” ของ Luke Duggleby ช่างภาพชาวอังกฤษ ช่วยรักษาความทรงจำของเราถึงผู้ซึ่งวายชนม์เพราะต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง เขาพยายามสืบสาวเรื่องราวในอดีตนับตั้งแต่ถึงปี 2516 เที่ยวตามหาครอบครัวและเพื่อนฝูงของวีรชนที่ถูกสังหารทั่วประเทศไทย ขอรูปถ่ายของวีรชนเหล่านั้นมา และนำไปตั้งยังจุดที่เกิดเหตุร้าย พร้อมกับถ่ายภาพ เขาสามารถรวบรวมความทรงจำเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 56 คน โดยการนำภาพถ่ายของวีรชนหรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแต่ละคนมาถ่ายยังที่เกิดเหตุ
ความพยายามเก็บข้อมูลอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงเพื่อตอบโต้แกนนำชุมชนในชนบท เกิดขึ้นระหว่างปี 2516 ถึง 2519 เป็นช่วงที่แกนนำเกือบ 50 คนของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บ จากงานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ของ Protection International เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนพบว่า มีผู้ตกเป็นเหยื่อการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและการบังคับบุคคลให้สูญหายกว่า 70 รายในไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยทั้งหมดเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งหญิงและชาย
เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเหยื่อและครอบครัว การต่อสู้และความตายของพวกเขาและเธอไม่ควรถูกหลงลืมและเพิกเฉย ส่วนผู้ที่ใช้อำนาจอย่างมิชอบที่ยังลอยนวลต้องได้รับการลงโทษ การลงโทษผู้ที่ใช้อำนาจอย่างมิชอบเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดลงของการสังหารและทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ เรายังต้องตระหนักว่า หลายคนยังคงมีชีวิตอยู่และต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง การทำงานของพวกเขาและเธอสะท้อนถึงการต่อสู้ของชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง และมักถูกเพิกเฉย ดังจะเห็นได้จากรูปถ่ายบุคคลจำนวนมาก รวมทั้งสารคดีเกี่ยวกับชุมชนที่เกิดเหตุต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เราต้องตระหนักว่าพวกเขาตายเพราะต่อสู้เรียกร้องสิ่งใด และเราต้องไม่ลืมพวกเขาและเธอ รวมถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนพวกเขาและเธอ เหล่านั้น
122 Moo 7 Tonpao Sankambheng, Chiang Mai, 50130 Thailand
หมายเหตุ สามารถขึ้นรถสาธารณะสีขาว สันกำแพง-เชียงใหม่ Public minibus (white color) between Chiang Mai Varorot Market to Sankambheng