EVENT


“จิต – จักรวาล” : “Spirit – Universe”

Tue 6 Sep - Thu 15 Sep | 09.00 - 17.00
Exhibition
    |
  • multidisciplinary
Activity Picture

Description

 

 

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “จิต – จักรวาล” : รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองเดช คูภานุมาต

Contemporary Arts ExhibitionSpirit – Universe” : Assoc. Prof. Chalongdej Kuphanumat

             ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะในนิทรรศการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่อง จิต – จักรวาล การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยให้เป็นสื่อสร้างสำนึกทางศีลธรรม (Spirit – Universe. Creation 0f Contemporary Arts for Morality Reminiscence Medias)

             โครงการวิจัย เรื่อง “จิต-จักรวาล การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยให้เป็นสื่อสร้างสำนึกทางศีลธรรม” มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่  2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานจิตรกรรมไทยประเพณี และจิตรกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ ข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้ ส่วนที่สอง เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย โดยสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเบื้องต้น นำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยรูปแบบศิลปะสื่อประสม (Mixed Media Art) และศิลปะแนวจัดวาง (Installation Art) ที่สามารถประสานเชื่อมโยงองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของบรรพชนไทยในอดีตกับการแสดงออกทางด้านทัศนศิลป์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมวิธีคิด อันเป็นผลผลิตทางพุทธิปัญญาของชาวพุทธ ตลอดจนสามารถสะท้อนถึงคุณค่าและความหมายจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นสื่อศิลปะที่ช่วยสร้างสำนึกทางศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทย

บทคัดย่อ

คติจักรวาลวิทยาพุทธศาสนา คือ แนวคิดสำคัญที่ใช้อธิบายโครงสร้างทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ด้วยการสร้างจินตภาพที่แสดงธรรมชาติฝ่ายนามธรรม โดยเทียบเคียงให้สอดคล้องกับธรรมชาติทางรูปธรรมจากโลกทัศน์ของคนในสมัยโบราณ ทั้งนี้ จักรวาลในคติความเชื่อของชาวพุทธ หมายถึง ปริมณฑลแห่งภพภูมิทั้ง ๓ หรือไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งเป็นการแสดงสถานะชีวิตของสรรพสัตว์ รวมทั้งรูปพรรณสัณฐานและองค์ประกอบของโลกจักรวาลทางกายภาพ ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมล้านนา คติจักรวาลวิทยายังเป็นรากฐานสำคัญของภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการถ่ายทอดผ่านวรรณกรรมและศิลปกรรม จากการศึกษาแนวคิด สัญลักษณ์ และรูปแบบทางศิลปกรรมของงานจิตรกรรมล้านนาพบว่า เนื้อหาเรื่องคติจักรวาลมีทั้งที่ปรากฏอยู่ในภาพเขียนเล่าเรื่องพุทธประวัติ ชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน และสื่อความหมายด้วยรูปทรงสัญลักษณ์  รูปแบบและกรรมวิธีในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมล้านนามีลักษณะเด่นและสามารถสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์โดยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับงานศิลปกรรมแขนงอื่นๆ ภายในพุทธสถานล้านนาแบบเป็นองค์รวม ทั้งนี้ สัมฤทธิผลของการสร้างสรรค์ ยังทำหน้าที่เป็นสื่อศิลปะที่สะท้อนความหมายอันลึกซึ้งของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย รูปแบบศิลปะสื่อประสม และศิลปะแนวจัดวาง โดยการตีความหมายจากแนวคิดคติจักรวาลวิทยาในงานจิตรกรรมไทย เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมวิธีคิด อันเป็นผลผลิตทางพุทธิปัญญาของชาวพุทธ

 

Abstract

This creative accomplishment is also an artistic medium profoundly reflecting the Buddhist teaching or Dharma. The result of the research showed that the Buddhist cosmology concept could be an important concept to explain human spiritual structure through imaginative creation of abstraction by comparing it to the corresponding concrete aspects of nature based on the world view of people in the past.  The cosmology in Buddhist concept refers to the three worlds: the nether or sensual world, the corporeal world and the ethereal or formless world which indicates the status of all creatures, including the physical features and components of the universe or cosmos.  In the Lan Na social and cultural contexts, the cosmology concept has become an important basis of the old wisdom depicting their strong faith in Buddhism and the monarchy as seen in their literature as well as art.  In the study of Lan Na painting in terms of concept, symbol and art forms, it was found that the study of cosmology concept found in the paintings related to the story of the Buddha, the Jataka, folk literature as well as that which is conveyed through forms, symbols and the creation techniques related to other kinds of art disciplines found in Lan Na Buddhist sites in a holistic manner.  The success in the creation also reflected the profound meaning of Buddhist Dharma.  Moreover, the researcher was able to make use of the knowledge gained from the study to be the inspiration of creating contemporary art works in the form of mixed media and installation through interpretation and carrying on the thinking culture which is the product of Buddhist intellect. 

กิจกรรม

การเสวนา เรื่อง จิต-จักรวาล การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยจากแนวคิดคติจักรวาลวิทยาพุทธศาสนา

วิทยากร   อาจารย์ปฐม พัวพันธ์สกุล, รศ.ดร.ฉลองเดช คูภานุมาต

วัน         อังคาร ที่ 6 กันยายน 2559

เวลา       13.00 – 14.30 น.

 

Artists

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองเดช คูภานุมาต|

Venue

Chiang Mai University Art Center
Contact
053 218279 / 053 944833
Address

239 Nimmanhemin Road, Muang, Chiang Mai 50200

Opening hours
Tuesday - Sunday 9.00 - 17.00
Website
http://www.finearts.cmu.ac.th/artcenter
Social

On Map