เมื่อพูดถึงแคมป์เบลล์คุณนึกถึงอะไร? นักฟุตบอลชื่อดัง หนังสือชีววิทยาเล่มหนา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก หรือว่าจะเป็นซุปกระป๋องสีขาวแดงที่วางขายอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป? แน่นอนว่าแคมป์เบลล์ของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ประสบการณ์และความทรงจำที่ได้รับ ดังนั้นเพื่อให้มองเห็นในสิ่งเดียวกันเราจะสมมติว่าสิ่งที่อยู่ในใจของทุกคนตอนนี้คือซุปกระป๋อง นั่นเพราะเรากำลังจะพูดถึงผู้สร้างผลงานแนวป๊อปอาร์ตชื่อดังที่ทำให้ ซุปกระป๋องแคมป์เบลล์ (Campbell’s Soup Can) กลายเป็นสัญลักษณ์ของตัวเอง แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol)
ในอดีตวอร์ฮอลมีงานอดิเรกที่ไม่เหมือนใครอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการสังเกตการทำงานของเครื่องซักผ้า เพราะชอบเสียงของเครื่องจักรและกลิ่นของน้ำยาซักผ้า นั่นอาจเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งให้วอร์ฮอลมีความคิดอยากจะนำเสนอสิ่งของธรรมดาในรูปแบบของผลงานศิลปะ ดังจะเห็นได้จากภาพวาดรองเท้าส้นสูง หรือภาพของขวดโคคาโคล่า (Coca-Cola) และซุปกระป๋องแคมป์เบลล์อันเลื่องชื่อที่สื่อให้เห็นแนวคิดของวอร์ฮอลที่ว่า ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็มีสิ่งที่สามารถเป็นของทุกคนได้ และถูกใช้งานโดยทุกคนเหมือนๆกันอยู่ กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงานขับรถ โค้กของทั้งสองคนก็ต่างมีรสชาติเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์เนอร์ชื่อดังหรือพ่อค้าขายผ้า ซุปกระป๋องแคมป์เบลล์ที่ทั้งสองหาซื้อก็ยังคงมีราคาเท่ากัน และด้วยแนวคิดเหล่านี้เองที่ทำให้ผลงานของวอร์ฮอลประสบความสำเร็จขึ้นมา เพราะมันได้สะท้อนให้เห็นรูปแบบการใช้ชีวิต และทิศทางของระบบการผลิตและเศรษฐกิจของชาวอเมริกาในยุค20 ที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึงการตกเป็นเป้าหมายของโฆษณาสินค้าต่างๆของตัวเอง นอกจากนี้ผลงานของวอร์ฮอลยังแตกต่างจากงานเชิงนามธรรม (Abstract) และงานเสมือนจริง (Realistic) ในยุคก่อนหน้า เพราะนอกจากงานของวอร์ฮอลจะเป็นการผสมผสานระหว่างงานวาดแบบนามธรรมและงานเสมือนจริงแล้ว การใช้สินค้าหรือบุคคลที่มีอยู่จริง และผู้คนพบเห็นอยู่บ่อยๆมาเป็นต้นแบบของชิ้นงาน ยังทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับชิ้นงานของวอร์ฮอลมากกว่างานที่มีแต่เส้นสีหรือภาพบุคคลที่พวกเขาไม่รู้จัก ตัวอย่างเช่น ระหว่างภาพของมาริลิน มอนโร กับภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The last supper) แน่นอนว่าสาวผมบลอนด์ที่ชาวอเมริกันเห็นผ่านหน้าจอโทรทัศน์บ่อยๆ ย่อมให้ความรู้สึกว่าจับต้องได้มากกว่าพระเยซูคริสต์เมื่อเอาบุคคลทั้งสองมาวาดใส่ผืนผ้าใบ และความรู้สึกที่ว่างานศิลปะเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากขึ้นนี่เอง ที่ทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความแตกต่างและให้ความสนใจกับผลงานของวอร์ฮอลมากขึ้น จนมองว่าสัญลักษณ์ของสินค้าไม่ใช่แค่สิ่งที่สะท้อนเพียงลักษณะของแบรนด์อีกต่อไป แต่ยังกลายเป็นการสะท้อนเอาเอกลักษณ์ การออกแบบ และศิลปะออกมาผ่านตัวผลงานด้วย เช่นเดียวกับศิลปิน และบุคคลชื่อดังที่กลายมาเป็นหนึ่งในงานของวอร์ฮอล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ ได้สื่อให้เห็นถึงผลกระทบที่วอร์ฮอล์มีต่อมุมมองของสังคม ณ ขณะนั้นๆได้เป็นอย่างดี
จากที่เราได้กล่าวถึงไปก่อนหน้า ผลงานของวอร์ฮอลเป็นรูปแบบของการผลิตซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตซ้ำภาพถ่ายคนดัง ภาพจากนิตยาสาร ผลิตซ้ำภาพผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งการผลิตซ้ำตัวของวอร์ฮอลเอง แต่ในการผลิตซ้ำเหล่านั้น วอร์ฮอลได้แฝงความเป็นของแท้ของตัวเองไว้ภายใน ด้วยการนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างจากงานศิลปะชิ้นอื่นๆ และการใช้ต้นแบบที่แปลกใหม่ ดังจะเห็นได้ว่าก่อนหน้าวอร์ฮอลไม่มีใครนำเอารองเท้าส้นสูง หรือสินค้าตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมาวาดเป็นงานศิลปะและสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับวอร์ฮอล นั่นเพราะเขาไม่เพียงแค่สร้างผลงาน แต่ยังสร้างตัวตนของตนเองขึ้นมาจากรูปแบบของชิ้นงานอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในช่วงหลังที่แม้ว่าวอร์ฮอลจะผลิตซ้ำผลงานของตัวเองแต่ชื่อของเขาก็ยังคงเป็นที่กล่าวขาน และการที่เพียงเห็นรูปแบบของผลงานผู้ชมก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นผลงานของวอร์ฮอล คล้ายกับการที่เรามองเห็นสตีฟ จ๊อบ (Steve Job) จากผลิตภัณฑ์ของแอ๊ปเปิ้ล (Apple) หรือมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค (Mark Zuckerberg) ผ่านการใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) อย่างไรก็ตาม การมองเห็นวอร์ฮอลจากภาพของซุปกระป๋อง กับการมองเห็นจ๊อบผ่านความเป็นแม็คบุ๊ค (Macbook) อย่างไรก็ตาม แตกต่างจากจ๊อบที่สร้างตัวตนขึ้นมาจากการผลิตสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ผลิตภัณฑ์ของวอร์ฮอลเกิดจากการผลิตซ้ำผลิตภัณฑ์ของคนอื่น เป็นการสร้างตัวตนของตัวเองผ่านสิ่งที่มีอยู่แล้ว และอาจเรียกได้ว่าเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมานำเสนอในรูปแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ทั้งรูปแบบการนำเสนอและตัวของสิ่งที่อยู่ในการนำเสนอกลายมาเป็นภาพสะท้อนตัวตนของตัวเอง ซึ่งการสร้างตัวตนขึ้นมาของวอร์ฮอลนี้คล้ายกับแนวคิดการเป็นของแท้ของโซเร็น เคี๊ยกเคอร์การ์ด (Soren Kierkerkaard) และเฟเดอร์ริกซ์ นิทเช่ (Friedrich Nietzsche) ที่กล่าวถึงการสร้างความเป็นตัวเองขึ้นมาจากทางเลือกต่างๆที่มีอยู่ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น อีกทั้งยังไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองแม้จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว โดยไม่ยอมแพ้ต่อคำพูดหรือทัศนคติของผู้อื่นที่พยายามผลักดันเขาให้กลับเข้าไปสู่ระบบสังคมที่หล่อหลอมให้คนทุกคนเป็นเหมือนๆกัน สังคมที่ไม่มีใครเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง และเดินหน้าต่อไปตามทางที่ตนเองได้เลือกไว้โดยไม่หวาดกลัวต่อความเสี่ยง และผลที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกของตัวเอง เพราะการเลือกหนทางที่แน่นอนหมายถึงการกลับเข้าไปเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ไม่มีตัวตนเป็นของตัวเอง เป็นเพียงเปลือกที่ถูกฝูงชน (The they) สร้างความหมายในการใช้ชีวิตและกำหนดเส้นทางดำเนินชีวิตให้ เช่น การเกิดในโรงพยาบาล เข้าเรียนชั้นอนุบาล ต่อด้วยประถม มัธยมแลมหาลัย จากนั้นจึงเข้าทำงานในบริษัท แต่งงาน สร้างครอบครัว เกษียน ใช้ชีวิตอยู่ในวงจรที่เหมือนๆกันกับทุกคนในสังคมและไม่ได้มีเป้าหมายที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง ต่างจากการที่วอร์ฮอลตัดสินใจวาดภาพกระป๋องซุปแคมป์เบลล์ และจัดแสดงงานผลงานชิ้นนั้น จากความผูกพันและความต้องการสื่อสารกับสังคมของตน โดยไม่ยอมแพ้แม้จะถูกวิจารณ์อย่างหนัก และยังคงพัฒนาวิธีการสร้างชิ้นงานของตนไปเรื่อยๆ จากการวาด เป็นการแสตมป์ และสกรีนในที่สุด ทำให้เกิดลักษณะของงานศิลป์รูปแบบใหม่ สร้างความตื่นตัวด้านความคิดเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจและสังคม และทำให้ชื่อของแอนดี้ วอร์ฮอล กลายเป็นที่รู้จักอย่างในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้คือการสร้างเอกลักษณ์จากการผลิตซ้ำของวอร์ฮอล เพราะการผลิตซ้ำของเขาไม่ใช่การผลิตซ้ำอย่างไม่มีจุดประสงค์หรือเป็นการผลิตซ้ำแบบไม่มีรูปแบบของตัวเอง การผลิตซ้ำของเขาได้สะท้อนแนวคิดและสร้างศิลปะแขนงใหม่ขึ้นมา เขาได้สร้างความเป็นของแท้ขึ้นจากสิ่งที่มีให้เห็นอยู่ทุกวันตามร้านค้า โฆษณา และหน้าปกนิตยาสาร และทำให้แบรนด์ของคนอื่นกลายเป็นสัญลักษณ์ของตนเองได้ พร้อมกับการสร้างความตื่นตัวและลบล้างคำวิจารณ์ที่ได้รับในช่วงต้นของการทำงานได้ไปพร้อมๆกัน กระทั่งบริษัทแคมป์เบลล์ เจ้าของตัวจริงของซุปกระป๋องที่วอร์ฮอล์หยิบยืมมาใช้ในผลงาน ตัดสินใจผลิตซุปกระป๋องรุ่น ‘แอนดี้ วอร์ฮอล’ ขึ้นมา เพื่อระลึกถึงผลงานชิ้นเอกของเขา เป็นการผลิตซ้ำอย่างเป็นเอกลักษณ์ และนำเอาเอกลักษณ์นั้นๆมาผลิตซ้ำ เพื่อย้ำให้เห็นถึงความเป็นแอนดี้ วอร์ฮอลได้เป็นอย่างดี
อรอนงค์ พงศ์พันธุ์พิพัฒน์, 2559
Tweetไดอารี่ จดหมาย การถาม-ตอบ และบทความที่สนใจ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวคิดเบื้องหลังการทำงานของศิลปินคนหนึ่ง และการเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นให้ผู้คนได้มองเห็นก็เหมือนเอาชีวิตของตนมาตีแผ่เป็นบทความสารคดีเรื่องหนึ่ง นิทรรศการ The Serenity of Madness ก็เป็นเหมือนสารคดีขนาดสั้นที่บอกเล่าเรื่องราวของคุณ อภิชาติพงศ์ ในรูปแบบที่เจาะลึกมากกว่าสารคดีทั่วไป นั่นเพราะมันเป็นเรื่องราวที่ถูกร้อยเรียงขึ้นโดยตัวศิลปิน
บริบททางสังคมกับความรู้สึกภายในของศิลปินมีผลกระทบต่อกันและกันมากขนาดไหน อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินหยิบพู่กันมาวาดรูปสักรูปหนึ่ง และในทุกครั้งที่นั่งอยู่เบื้องหน้ากระดานวาดภาพศิลปินเหล่านั้นคิดอะไรอยู่ในหัว Van Gogh in Context ได้หยิบจับบริบทภายนอกมาบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมๆ กับความคิด พฤติกรรม และคำพูดของศิลปินเอกของโลก Van Gogh ให้ผู้ที่เข้าร่วมนิทรรศการได้เห็นมุมมองที่กว้างขวางและแปลกตาไปจากคำบอกเล่าเดิมๆ ที่มีต่อตัวศิลปินผู้นี้ ที่จะทำให้ความรู้สึกของเราต่างไปจากเดิม
หากพูดถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงในการเปลี่ยนนามปากกาและย้ายที่อยู่บ่อยมากพอกับการเป็นที่รู้จักผ่านผลงานอันโด่งดังมากมาย "คัตสึชิกะ โฮะคุไซ" ก็คือศิลปินคนนั้น ไปทำความรู้จักกับประวัติและผลงานในแต่ละยุคสมัย แต่ละนามปากกา ของคุณปู่ที่เรียกตัวเองว่าตาแก่บ้าวาดรูปธรรมดาๆ แล้วตัดสินใจไปพร้อมๆ กันว่า โฮะคุไซ เป็นแค่คนแก่อย่างที่ตนเองกล่าวแค่นั้นจริงหรือไม่ได้ใน KATSUSHIKA HOKUSAI เล่มนี้
"ความไม่เห็นด้วย" เมื่อพูดถึงคำๆ นี้ แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้นการโต้แย้ง การมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของบุคคลสองฝ่าย แล้วความไม่เห็นด้วยนี้จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวได้อย่างไร "ฌาคส์ ร็องซิแยร์" มีคำตอบให้กับคุณ