[Book Review] APICHATPONG WEERASETHAKUL SOURCEBOOK – The Serenity of Madness

APICHATPONG WEERASETHAKUL SOURCEBOOK – The Serenity of Madness

                ทุกครั้งที่ได้เข้าร่วมการบรรยายหรืออ่านหนังสือที่ผู้บรรยายหรือผู้เขียนกล่าวถึงประสบการณ์ หรือบอกเล่าเรื่องราวส่วนหนึ่งในชีวิตของตัวเองมักทำให้เรารู้สึกเต็มอิ่มเสมอ เหมือนเราได้ชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของตัวละครเอกไปจนถึงจุดๆ หนึ่งแล้วหยุด แต่ในขณะเดียวกันเราก็รู้ว่าเรื่องราวของตัวละครตัวนั้นยังไม่จบ และมันจะยังดำเนินต่อไปในสถานที่ที่เราไม่รู้ เหมือนเราได้เติบโตไปพร้อมๆ กันกับตัวละครตัวนั้น การฟังหรืออ่านเรื่องราวของผู้อื่นก็เช่นกัน ต่างกันแค่เพียงเมื่อการบรรยายจบลงหรือการอ่านของเราสิ้นสุด มันก็ทำให้เราเติบโตขึ้นทันที ไม่ว่าจะมากหรือน้อย เพราะเราจะได้คำแนะนำบางอย่างจากการฟังหรือการอ่านนั้นๆ ที่ทำให้ความคิดของเราต่างไปจากเดิม ไม่ว่าเจ้าของประสบการณ์จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

                ใน The Serenity of Madness เราจะได้เห็นแนวคิดในการสร้างผลงาน ความชอบ การผูกเรื่องราว สายสัมพันธ์ทั้งทางด้านสังคมและความคิด และชิ้นส่วนต่างๆ ที่ปะติดปะต่อกันออกมาเป็นทั้งตัวตนของศิลปิน และผลงานของเขา ความน่าสนใจของ The Serenity of Madness คือมันไม่ได้เล่าเรื่องราวของศิลปินในมุมมองบุคคลที่สาม แต่เป็นตัวศิลปินที่บอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ทั้งในแบบการเขียนบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านจดหมายที่ตนเองเป็นผู้ส่ง การเล่าเรื่องผ่านการถาม-ตอบ และการใช้บทความ ในการอธิบายความคิดและความสนใจของตนเอง และไดอารี่ของคุณเจนจิรา ที่แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องราวของคุณอภิชาตพงศ์ แต่ก็เป็นเรื่องราวเบื้องหลังที่อธิบายถึงการสร้างสรรค์ผลงานของเขาเรื่องหนึ่ง การใช้การแสดงออกที่หลากหลายทำให้ The Serenity of Madness ต้องใช้พลังงานในการปะติดปะต่อเรื่องราวค่อนข้างสูงสำหรับเรา แต่มันก็สร้างความน่าสนใจให้กับการอ่านมากขึ้นเช่นกัน เพราะมันไม่ใช่การเขียนเล่าเรื่องที่อ่านได้เรื่อยๆ อย่างหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คทั่วไป แต่มันทำให้เราต้องคิดตามเรื่องราวไปเรื่อยๆ ว่าทำไมศิลปินจึงเอาส่วนนั้นมาใส่ไว้ตรงนี้ ทำไมจึงเรียงลำดับเนื้อหาแบบนี้ มีบางส่วนที่เข้าใจ และบางส่วนที่ไม่เข้าใจ แต่เมื่ออ่านทั้งหมดจนจบก็ยังรู้สึกว่ามันเป็นการอ่านที่ให้ประสบการณ์บางอย่างกับเรา และทำให้เรารู้สึกสงบลงจริงๆ ตามชื่อ Serenity ของหนังสือ โดยที่ตัวเราเองจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่าทำไม

                การอ่าน The Serenity of Madness สำหรับเราถือเป็นความแปลกใหม่อย่างหนึ่ง มันไม่ใช่ทั้งการอ่านไดอารี่ บทสัมภาษณ์ หรือบันทึกการเดินทาง แต่ในขณะเดียวกันมันก็ได้รวมเอาทั้งหมดนั้นมาไว้ด้วยกัน เหมือนเราจะจับจุดความคิดของศิลปินได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีสิ่งยืนยันว่าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้อง เป็นการผสมผสานระหว่างมุมมองส่วนบุคคล บทความทางวิทยาศาสตร์ และเรื่องราวอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน และจบลงแบบปลายเปิดจนทำให้เราสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เหมือนดูภาพยนตร์ที่จู่ๆก็จบแบบไม่ทันให้ตั้งตัว แต่ก็ให้ความรู้สึกว่ามันเป็นตอนจบที่สมบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน

Jun 24, 2017
827 views

Other journal

  • [Book Review] Van Gogh in Context

    บริบททางสังคมกับความรู้สึกภายในของศิลปินมีผลกระทบต่อกันและกันมากขนาดไหน อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินหยิบพู่กันมาวาดรูปสักรูปหนึ่ง และในทุกครั้งที่นั่งอยู่เบื้องหน้ากระดานวาดภาพศิลปินเหล่านั้นคิดอะไรอยู่ในหัว Van Gogh in Context ได้หยิบจับบริบทภายนอกมาบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมๆ กับความคิด พฤติกรรม และคำพูดของศิลปินเอกของโลก Van Gogh ให้ผู้ที่เข้าร่วมนิทรรศการได้เห็นมุมมองที่กว้างขวางและแปลกตาไปจากคำบอกเล่าเดิมๆ ที่มีต่อตัวศิลปินผู้นี้ ที่จะทำให้ความรู้สึกของเราต่างไปจากเดิม

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 24, 2017
    838 views

  • [Book Review] KATSUSHIKA HOKUSAI

    หากพูดถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงในการเปลี่ยนนามปากกาและย้ายที่อยู่บ่อยมากพอกับการเป็นที่รู้จักผ่านผลงานอันโด่งดังมากมาย "คัตสึชิกะ โฮะคุไซ" ก็คือศิลปินคนนั้น ไปทำความรู้จักกับประวัติและผลงานในแต่ละยุคสมัย แต่ละนามปากกา ของคุณปู่ที่เรียกตัวเองว่าตาแก่บ้าวาดรูปธรรมดาๆ แล้วตัดสินใจไปพร้อมๆ กันว่า โฮะคุไซ เป็นแค่คนแก่อย่างที่ตนเองกล่าวแค่นั้นจริงหรือไม่ได้ใน KATSUSHIKA HOKUSAI เล่มนี้

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 14, 2017
    861 views

  • [Book Review] Jacques Ranciere

    "ความไม่เห็นด้วย" เมื่อพูดถึงคำๆ นี้ แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้นการโต้แย้ง การมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของบุคคลสองฝ่าย แล้วความไม่เห็นด้วยนี้จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวได้อย่างไร "ฌาคส์ ร็องซิแยร์" มีคำตอบให้กับคุณ

    Onanong Pongpanpipat
    May 19, 2017
    1093 views

  • [Book Review] RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์

    Creation of Adam, Piete กับ David ของมิเคลันเจโล Self Portrait, Mona Lisa และ Vitruvian man ของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือบางทีอาจมี The School of Athens และ Disputation of the Holy Sacrament (La Disputa) ของราฟาเอล ซานซิโอ นั่นเป็นผลงานศิลปะและศิลปินสมัยเรอเนซองส์ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมีผลงานของผู้สร้างสรรค์ชั้นครูอีกมากที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในยุโรป ที่เราจะได้เห็นไปพร้อมๆ กันใน 'RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์' เล่มนี้

    Onanong Pongpanpipat
    Apr 2, 2017
    1376 views

About
There is no information.
Contact
e-mail: [email protected]