Atikom Mukdaprakorn

photography , media arts , management , writing

GOOD LIFE | มันเลยไม่มีคำตอบ

˹good life˼ ชีวิตที่ดี เป็นคำมีปัญหา ทั้ง good และ life อย่างมากกว่าจำนวนตัวอักษรง่ายๆ และเสียงอ่านสะดวกลิ้นได้อำพรางไว้ ด้วยเป็น "คำตอบ" ที่ถูกถามหามาตลอด นับตั้งแต่มนุษยชาติได้เริ่มมีการคิดอ่าน โดยทุกอารยธรรมต่างผลิตคำตอบให้คนร่วมเชื่อ-ร่วมกันใช้เป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ประวัติศาสตร์ของคำนี้จึงมีรากลึก และหน่อใหม่ที่ผลิออกมาจากอารยธรรมต่างๆ ตลอดเวลา ส่งผลให้คำนี้มีคำอธิบายขนาดใหญ่จำนวนมาก ที่ซ่อนเงื่อนไขไว้ในตัวอย่างซับซ้อน จนยากจะคลี่เผยไปถึงความจริงของคำ

˹good˼ คำสี่อักษร คำแรกนั้น ไม่เคยมีความหมายที่เหมือนกันในแต่ละยุคสมัย ทุกอารยธรรมล้วนมีการกำหนดระบบคุณค่าไว้ เพื่อตัดสิน ดี-งาม-ทราม-ชั่ว ในแบบของตน โดยวางเกณฑ์ไว้ในรูปของหลักการ สร้างข้อตกลงให้ยึดมั่นร่วมกัน เพื่อหาที่สุดของการกระทำต่างๆ คัดกรองให้มีเรื่องพึงกระทำ ซึ่งนำไปสู่ความบริสุทธิ์เรืองรองของอารยธรรมนั้นๆ แต่ไม่ว่าหลักการที่คํ้าจุนอารยธรรมไว้จะแข็งแกร่งเพียงใด ทุกอารยธรรมล้วนมีจุดสิ้นสุด จึงยังไม่เคยมีหลักการใดเป็นอกาลิโก ที่หยุดนิ่งอยู่เท่าเดิมให้ใช้ได้ตลอดไป

ความดีที่เราเชื่อมั่นอยู่ในวันนี้ อาจเป็นเพียงความเชื่อที่ใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น คำว่า ˹good˼ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการรับรู้ความจริงที่กว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ของมนุษยชาติ การทำความเข้าใจคำคำนี้ จึงต้องรู้ที่มาและที่ไปของหลักการของสังคมในขณะนั้นด้วย โดยทั่วไปหลักการมีขึ้นเพื่อควบคุมการกระทำและการผลิตความหมายของบุคคลในสังคม ทำให้มีเกณฑ์ในการใช้เวลากระทำการ ที่นำไปสู่ผลดีได้อย่างเหมาะสม ด้วยเวลานั้นเป็นทรัพยากรที่ทุกคนมีอยู่ในตัวเหมือนๆ กัน แต่มีปริมาณที่ยากจะวัด ด้วยไม่มีใครล่วงรู้ได้ถึงการหมดสิ้นเวลาของแต่ละบุคคล หรือการจบชีวิตลง ดังนั้น "เวลา" จึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไปกับ "ชีวิต" เพื่อการเลือกหนทางที่ดีที่สุดในการใช้เวลา/ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า คำว่า ˹life˼ จึงได้มาพบกับ ˹good˼ ที่การวางหลักการต่างๆ ขึ้นมาอย่างสัมพันธ์กับความจริง

เวลาเป็นทรัพยากรในตัวบุคคล และก็เป็นต้นทุนสำคัญต่อการผลิตทั้งปวงของมนุษยชาติในทุกอารยธรรม ซึ่งสามารถรวบรวมมาทำงานในระดับที่ให้ผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ได้ สังคมที่ปรารถนาความยิ่งใหญ่ จึงเรียกร้องให้บุคคลมากมายสละเวลา/ชีวิตให้กับการสร้างประโยชน์แก่สังคม และแบ่งปันผลกันตามข้อตกลงที่ตั้งไว้ในหลักการ แต่บางครั้งหลักการก็ไม่เป็นธรรม จนบุคคลเสียสิทธิ์ในประโยชน์ และต้องหาทางต่อรองกับสังคมเพื่อกำหนดข้อตกลงใหม่อยู่เสมอ หลักการของสังคมตั้งไว้ที่ผู้ใด ผลของการใช้เวลาผลิตสิ่งต่างๆ ก็จะไปตกอยู่ที่ผู้นั้น

อารยธรรมโลก ดำเนินมาในทิศทางของการค่อยๆ ลดทอนศักดิ์ในการอ้างสิทธิ์พิเศษ ที่จะกำหนดการครองผลประโยชน์ไว้กับเฉพาะบางคน-บางกลุ่มในสังคมลงไปเรื่อยๆ ผ่อนเบาแรงกดทับที่กระทำต่อมวลชน ปลดคนจากระบบทาส ผู้รับใช้ คนใต้อาณัติ ให้คนธรรมดาทุกคนสามารถยืนตรงขึ้นถกเถียงกับความไม่ชอบธรรมของการวางหลักการ และมีความเป็นมนุษยชนที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน พร้อมรับผลดีผลเสียจากการใช้เวลาของตัวเองตามสิทธิ์ของตน

ความเข้มแข็งของปัจเจกชน ในการครอบครองเวลาไว้ใช้ตามความปรารถนาของแต่ละคน นำไปสู่โอกาสทบทวนชีวิต เพื่อคิดค้นวิธีการต่อรองต่อต้านกับข้อจำกัดต่างๆ ขึ้นมาอย่างหลากหลาย แทนที่จะปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งมากำหนดวิธีการเดียวไว้ให้ทุกคนต้องเชื่อตาม เพราะคนในสังคมไม่ได้มีความต้องการเหมือนๆ กัน และสามัคคีกันมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกันตลอดเวลา เสรีในการใช้เวลา/ชีวิตของปัจเจกชน จึงกลายมาเป็นหลักการของโลกในปัจจุบัน เพื่อขยายความเป็นไปได้ในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้รองรับชีวิตที่แตกต่างกันได้ครอบคลุมมากขึ้น

แต่ก็เป็นเรื่องน่าแปลก ที่เรามักไม่ค่อยได้ใช้เวลากระทำการเช่นนี้กันนัก โดยเฉพาะในสังคมไทย ที่เวลาของเรามักหมดหายไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว อาชีพการงานที่เรียกร้องความสามารถหลากหลายสาขา มีเรื่องให้ยุ่งอย่างต่อเนื่องจนไม่รู้วันไม่รู้คืน ราวกับว่าระบบเวลาที่ดำเนินไปนั้น ไม่มีเส้นแบ่งที่ทำให้เราสามารถรู้ขอบเขต ที่แบ่งระหว่างเวลางานเพื่อผู้อื่น และเวลาส่วนตัวเพื่อตนเองได้ นอกจากอยู่ออฟฟิศเกินเวลาแล้ว ยังต้องพกงานกลับมาทำที่บ้านอีก จึงขาดโอกาสที่มากพอให้หาคำตอบเรื่องชีวิตของตนอย่างชัดเจนได้

ปัจจุบันที่คลุมเครือ จนไม่รู้ว่าเป็นเวลาของเราหรือของใครนั้น ไม่สามารถทำให้แน่ใจได้ว่า การจดจำการหาคำตอบเรื่องชีวิตอันกระท่อนกระแท่นในแต่ละช่วงเวลาไว้เป็นประวัติศาสตร์ของตน จะเกิดประโยชน์อันใดขึ้นมาได้ แตกต่างไปจากประวัติศาสตร์กระแสหลักในตำราเรียน ที่เล่าเรื่องไกลๆ ไว้ให้จดจำ โดยไม่ต้องพิสูจน์ ว่าเรื่องที่จำมานั้นมีข้อเท็จจริงและส่งผลกับเราในปัจจุบันอย่างไร แต่การจำเรื่องนี้ได้ จะนำไปสู่ความสำเร็จทางการศึกษา ให้มีโอกาสได้ยกระดับสถานะทางสังคม

เมื่อเรื่องที่ต้องจำ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ เรื่องเล่าเหล่านั้นก็ไม่ต่างไปจากละครโทรทัศน์ที่จะเปิดดูตอนไหนก็ได้ แค่เอาไว้ปรับให้ตนรู้เท่ากับคนอื่นในสังคม และรับความเพลิดเพลินจากฉากสนุกในตอน โดยไม่ต้องหาเหตุผลของการกระทำ หรือรู้ความจริงจากทั้งเรื่องก็ได้ เพราะเนื้อเรื่องเดาง่ายและมีตอนจบคล้ายๆ กันไปหมด พออวสานพ้นไป เดี๋ยวก็กลับมา ฉายซํ้า ทำใหม่ เหมือนเดิม ในเร็ววัน ให้ความสุขในฉากสนุกเดิมๆ จากอดีต วนกลับมาหาอีกครั้ง และอีกครั้ง ยํ่าซํ้าอยู่ในปัจจุบันขณะตลอดเวลา ชวนให้โหยหาอนาคตที่มาไม่ถึงเสียที

สภาวะการเห็นอดีตใกล้ๆ และภาพของอนาคตที่ปรากฏขึ้นพร้อมๆ กับการดำเนินไปของปัจจุบัน รั้งเวลา ทั้งก่อน และหลัง ของปัจจุบัน เข้ามาซ้อนทับกันจนยากจะแยกแยะให้รู้ว่าขณะนี้เราอยู่ตรงไหน จนเปรียบเทียบสำรวจหาความงอกเงยของความรู้ในสังคมได้ เราจะนึกไม่ออกว่าเราดูละครเรื่องนี้กี่ครั้งแล้ว? มีการรัฐประหารเกิดขึ้นกี่ครั้งแล้ว? เวลาไม่ได้ถูกพรากหายไปไหน แต่ถูกบิดเบือนเส้นทางให้กลายเป็นวงทบซํ้าไปซํ้ามา ไว้ฝึกให้เราอยู่กับความคาดหวัง และลืมปัจจุบัน แกล้งไม่รับรู้ต่อความเจ็บปวดที่กำลังเผชิญจนชาชิน ปล่อยให้ปัญหาต่างๆ เรื้อรังและไม่ต้องแก้ไข เดี๋ยวมันก็ผ่านหายไปเอง (มั้ง)

ความคาดหวัง สร้างภาพแทนของสิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับความจริงในปัจจุบันขณะ และกลายเป็นสูตรของหลักการที่นำไปสู่ภาพความสำเร็จแน่นอน ลอยตัวให้เห็นอยู่ตลอดเวลา พร้อมให้หยิบมาใช้รับมือกับอะไรก็ได้ ขอแค่มั่นใจในสูตรนั้นให้มากที่สุด ไม่ต้องใส่ใจอะไรอื่น ความวิเศษของภาพแทนอนาคตเช่นนี้ ดึงความสนใจของเราต่อเรื่องต่างๆ ให้มีอยู่แค่ในขณะที่เลือกวิธีการ ว่าจะหยิบสูตรสำเร็จมาใช้ให้อุ่นใจหรือไม่ เพราะเพียงหยิบมาใช้ ก็เสมือนหยิบผลปลายที่ควรจะเป็นมาสวมทับปัจจุบันให้เห็นเรียบร้อยแล้ว กลบเกลื่อนผลลัพธ์ของการใช้งานจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น ไว้ในความอมพะนำ จนไม่อาจแน่ใจได้ว่า มีอะไรที่จะจริงไปกว่าความคาดหวังนั้นได้อีก

เมื่อความเป็นจริงที่แท้จริง ไม่สำคัญ อะไรก็สามารถปลุกเสกให้เป็นความจริงได้ เพียงร่วมกันเชื่ออย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ แม้กระทั่งเหตุผลรองรับความไม่จริง หรือเรื่องเล่าที่ทำให้การหลักการลอยๆ ดูสมเหตุสมผลขึ้นมา ก็เป็นความจริงได้ อย่างเช่นแผนผังที่สร้างขึ้นมารวบทุกสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักการสูงสุดของสังคมมาไว้เป็นกลุ่มของสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ต้องกำจัดไปจากสังคม ก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาใช้แม้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จนเมื่อพบว่าไม่จริง ก็ไม่มีใครใส่ใจจะแก้ไขผลที่เกิดขึ้นไปแล้ว ทั้งที่ยังมีผู้ต้องเจ็บปวดจากมันอยู่ เรื่องอื่นๆ กำลังวนมารอคิวเข้าสู่ความสนใจของสังคม อีกเรื่อง/อีกครั้ง ถ้าไม่รีบทำเป็นลืมปัจจุบันที่กำลังผ่านไป เดี๋ยวจะไม่ร่วมสมัยเท่าคนอื่น

สังคมที่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร แต่ไม่รู้ว่านำไปสู่ผลอะไร หรือไม่ใส่ใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาจริงๆ ทำให้ค่าตอบแทนการใช้เวลานั้นไร้ความหมาย การดำเนินของเวลาก็ไร้ความหมายไปด้วย ทั้งไม่น่าจดจำ และเต็มไปด้วยความผิดพลาดที่เราช่วยกันละการสะสาง ปล่อยให้ทุกอย่างทับถมพอกพูน เป็นอดีตที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่มีใครใส่ใจแม้อยู่ตรงหน้า และหน่วงให้เส้นเวลาตีกลับมาที่เดิม เดินไปไหนไม่ได้ เพราะอดีตยังไม่จบจริง เมื่อเวลาไม่เดิน ชีวิตก็ไม่เดินไปด้วย สังคมเช่นนี้จึงไม่มีเวลา/ชีวิตอยู่จริง จะชีวิตของใครก็ไม่มีความหมาย ถ้าไม่ได้นำสูตรของหลักการมาสวมไว้ยืนยันการร่วมลอยตัวเหนือวงจรเวลาซํ้าไปซํ้ามานั้น หลักการที่ลอยออกจากความจริงนี้ ไม่มีเส้นเวลาให้คุณค่าได้วางตัว และประโยชน์ต่างๆ ไปตกอยู่กับภาพแทนของอนาคตที่จริงเหนือความจริงไป ทำให้ผู้คนมากมายที่ดำรงตนอยู่ในความจริงที่สังคมละเลย ไม่สามารถร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ที่สมควรได้จากสังคม สภาวะเช่นนี้ต่อให้กำหนดคำตอบ ˹ชีวิตที่ดี˼ ขึ้นมา ก็เป็นได้เพียงเรื่องเล่าที่มาช่วยเสริมให้หลักการลอยๆ ยิ่งเฟื่องฟูลอยห่างความจริงออกไปเรื่อยๆ หากคำตอบนั้นไม่ได้พิจารณาจากสังคมที่มี 'ปัจจุบัน' จากการเรียนรู้ 'อดีต' ไว้สร้าง 'อนาคต' ที่แท้จริงขึ้นมา

ทบทวนอดีต เรียนรู้เวลา ทำความเข้าใจตัวเองก่อนไหม
แล้วค่อยดูกันว่า มันมี ˹good˼ อะไรไว้เป็นคำตอบจริงๆ ของเราบ้าง?


อธิคม มุกดาประกร
มิถุนายน 2555, เชียงใหม่


เผยแพร่ครั้งแรกในนิทรรศการ POM: Politics of ME
จัดโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
28 มิถุนายน - 29 กรกฎาคม 2555

 

Good life, the words that are very controversy. Both 'good' and 'life'; just only simple four-letter words that is easy to pronounce but have hidden the answers that are searched since mankind had begun thinking.  Every civilization offers the given answers and the same set of beliefs and practices for its people to have them shared as a drive to construct many things. The history of the word is thus rooted and at the same time the new meaning has sprang up which resulted in variable and constant meanings. And those complexities of both words are thus increased until the truth of the words is hard to be seen.

Good, the first four-letter word, never shares the same meaning in each period of time. Every civilization had determined a value system to measure the good-the beauty–the bad-the evil in their own ways. Each civilization set principles and consensus to hold, to excel people's deed, and to screen the unwanted ones in order to glorify the civilization. But no matter how strong the principles are, the dawn of civilization is hard to avoid. So no principles are timeless and permanent for good.

The goodness we now hold might be only a belief that can be applied just only for a period of time. The word 'good' varies on the humanity’s perception of truth that is widened. To gain understanding of the word, a person needs to understand the background and reason behind the principal of society at that time.

In general, the principle is set to control actions and production of meaning of each person in the same society and to allocate time efficiently.

As time is a resource that each person is equally given but its amount is hard to be measured, for no one could know how long each person has to live a worthy life and spending time. Since 'life' is equal to 'time', thus life meets time  the principle established relatively to the reality.

Time is a resource abides in each person and also a critical capital for any kind of human production in every civilization. Time is the call of duty that could be spent for great collective benefit. Society that carves for greatness then demands its subjects to sacrifice their time/life for social advantages and share fruits according to an agreement first set by the principle. But sometime the principle is not righteous so person loses his right and suffers from disadvantage. Until he have to seek to negotiate with society for renewing an agreement. The benefit of time spending for production is bestowed for whoever a social principle is set for.

The world civilization has continued in the direction that social privilege is gradually reduced. The advantages that a person or a group accrues have been alleviated. The oppression mass has faced is lessen. People are freed from the slavery system, from being a servant and the oppressed. Ordinary people can get up and fight against injustice of laying principle. They could preserve human dignity and equality, and be ready to accept the advantage and disadvantage of freely spending their own time.

The strength of the individual in having a control over his own time and arbitrary time spending has led to a chance of reconsidering one’s life in order to find various ways to bargain and break off any limitation, instead of letting someone set a standard and force everyone to believe. Because not everyone in a society always holds the same set of beliefs and desires to be united and to achieve the same aim. The freedom of time spending and living has become the modern world’s principle to open up possibility for developing things that can respond different ways of living.

But it’s strange that we seldom spend our time doing so, especially in Thai society where our time is always unnoticeably used up. The career requires multifaceted abilities and busies people with burdens until they are too occupied to notice things passing by.  It seems like systematic flow of time has no clear-cut indicator that make us identify our extent between giving time to work for someone else and sparing time for ourselves.  Not only working overtime at the office, many have to bring home their works then they are lack of time to ponder about their life.

The present is so ambiguous that we are unable to differentiate our use of time; we can see how our philosophical thinking and struggling to regain the lost moment of our life will do any good. Unlike the mainstream history in student textbook, the stories long happened in the past are authorized to be remembered not to be questioned how reliable they are and how they will affect us. But remembering such narratives could promote us to be successful in education and raise our social status.

When what to believe is not what can be proved, these narratives are not different from TV soaps that we can watch anytime; we watch them just to keep up with stories, enjoy each scene with no need to understand the character’s motivation and no need to know overall story because this kind of narrative usually has the simple plot with cliché ending. Whenever a story ends, the new one seems to renew or retell the same story over and over again. The same old story with the same old scene and plot that are repetitively produced at the present makes us long for the future that is not yet to come.

The state of remembering a recent past and the appearance of near future that happens along with the present has the past and the future overlapped with the present until it’s hard to indicate our location in the stream of time and distinguish the knowledge that is gradually accumulating. We may not recall the times we have watched the familiar soaps on TV or the times coup d’état has happened. Our time is not deprived but it is distorted until its course become circular. It fools us with expectation, make us forget our present and pretend not  to perceive our current suffering. We are made to call off problem and leave it undone or wish if it (may) disappear.

Expectation that substitutes the future with presumed images that are not related to the reality of present has become formulaic principles lead us to success. Such principles are generally available and ready to be taken to handle with everything; only just have faith in them, nothing else to care.

The magic of substituted images has drawn our attention to focus only on whether we will choose any principles and employ them or not. So if we just adopt any principles, the future outcome is quite certainly embraced with the present and totally disguises what actually happen. We may not be certain what will be more real than our expectation.

When the real is not important, anything can be sanctified as reality. It needs only collective belief. Even reasons could be used to support the unreal or a narrative can make a vague principle reasonable such as a scheme that has collected anything contradicted to utmost social principle and branded as the unwanted needed to be eliminated. Such scheme gains reliability and is conducted even it is not yet to be proved. When it turns out to be unreal or impractical, no one cares to solve its result even there are many people get hurt. There are many things wait to get social attention; if we do not pretend to forget what had happened, we might be left behind.

A society that is aware of what is going on but never realizes what it will lead to or never realizes its outcome has spoiled the meaning of time spent. The course of time is thus also meaningless, not worth to be remembered. The mistakes are left to be cleaned up while some are left unattended and become accumulated. Residuals of the past are still remain, cannot be gotten rid of and pull back the stream of time. Everything is like being frozen because the future may not happen if the past is not yet truly finished.  When time does not go by, life does neither. Time/life of this kind of society are thus not real. Anyone’s life has no meaning if he doesn’t conduct that formulaic principle to conform the state of being away from the repetitive and circular stream of time.

The principle that is cut off from reality has no timeline for us to get hold. Any benefit we are supposed to obtain depends on the presumed and false images of the future that not yet occur or may never occur. So many people stay on false reality that society never really concerns. They could not share the proper benefit they should get. In this kind of social condition, it is no use to determine the answer of "good life" for it will be only a narrative that supports vague principle to be far from reality if the answer is neglected to be examine by the society that takes firm ground on the ‘present’, learns from the ‘past’ in order to form the real future.

Should we revise the past, understand the course of time, and ourselves?
And then we ponder whether what would be our answer of the question "What is good life?"


Atikom Mukdaprakorn
June, 2012
Chiang Mai


First published in the exhibition POM: Politics of ME
Organized by Bangkok Art and Cultural Centre
29 June to 29 July 2012

 

Jul 21, 2016
1166 views

Other journal

  • Chiang Mai Art Museum

    แม้เมืองเชียงใหม่จะหนาแน่นขึ้นทุกวัน แต่ก็ยังพอมีพื้นที่ให้โลกในฝันสามารถก่อรูปก่อร่างเป็นความจริงขึ้นมาได้อยู่ ที่สุดปลายอำเภอสันกำแพง พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2554 โดยกลุ่มศิลปินที่ต้องการพื้นที่ไว้แสดงจุดยืนให้สังคมได้ทำความเข้าใจความหมายของศิลปะและความเป็นศิลปินให้ชัดเจนขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งรวมฝันของศิลปินนับร้อยคนที่ช่วยกันลงทุนลงแรงสร้างมันขึ้นมา

    Atikom Mukdaprakorn
    Jun 3, 2018
    4902 views

  • KONYA2023: The TRAVELLERS PROJECT in Fukuoka

    Konya2023 ได้บูรณะความคิดต่อสถาปัตยกรรมให้เปลี่ยนจากเรื่องของ 'พื้นที่' มาเป็น 'เวลา' เพื่อกำหนดวงจรของการพบปะคนใหม่ๆ โดยการเปิดให้นักสร้างสรรค์สามารถมาเช่าใช้ได้ในราคาถูกแบบจำกัดเวลา กระตุ้นให้พวกเขาใช้โอกาสนี้พัฒนางานของตัวเองให้สำเร็จก่อนต้องย้ายออกไปและขวนขวายการเรียนรู้จากผู้ร่วมอาศัยคนอื่นในช่วงเวลาเดียวกันที่ทำงานแตกต่างกันไปให้ช่วยกันลับคมผลงานให้ดียิ่งขึ้น ที่นี่จึงกลายเป็นชุมชนศิลปินและนักออกแบบที่หมุนเวียนผู้คนมาทำอะไรสนุกๆ กันในย่านไดเมียว ฟุกุโอกะ นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา

    Atikom Mukdaprakorn
    May 4, 2018
    851 views

  • minimal. gallery 2007 - 2017

    มินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงแต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเองที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปีก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้

    Atikom Mukdaprakorn
    Apr 30, 2017
    3840 views

  • From Dust Till Dawn

    Given its lack of nationality, it makes one wonder from which tradition Paphonsak has drawn to create such painting. It even makes us uncertain as to which model has inspired his works of art. And our understanding shall continue to be mitigated by our fixation on the locality of his works, even though such instinct may be the preliminary factor that influences our beholding of the views so unfamiliar to us.

    Atikom Mukdaprakorn
    Feb 28, 2016
    1374 views

About

Co-founder of mute mute, which emphasizes mutual discussion about society in order to expand the boundary of perception through art, cultural performances and social activities in different forms. He is personally interested in media/art culture, especially domestic photography, freedom of expression and the state of art in Thailand. These form the basis for many of the conditions used in his media/art performances. Currently, he has been collaborating on the project "Chiang Mai Art Conversation" which originated in Chiang Mai. The purpose of the project is to facilitate a connection of art with discussion and Thai society to gain greater knowledge through all kinds of management and media.

CV Download
Contact
e-mail: [email protected]
Website
http://atikomm.tumblr.com
Social