อีกไม่กี่เดือนจะครบ 10 ปีแล้วแท้ๆ minimal. gallery ปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์แล้ววันนี้ ที่จริงก็ใจหายไปรอบนึงแล้วตั้งแต่ตอนร้านโดนคดี x2 ม.44 ระงับใบอนุญาตขายเหล้าไป ตั้งแต่วันครบรอบ 8 ปี ของร้าน เมื่อปี 2015 ศิลปะมันจะแยกจากเมรัยได้ยังไง เมื่อมนุษย์ไม่ได้เข้าใกล้กันง่ายดาย และรายได้แกลเลอรี่เล็กๆ ก็มีเหล้านี่แหละที่พอจะขับเคลื่อนให้คล่องตัว
มินิมอล.เป็นพื้นที่สำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมคนรุ่น "หลัง" ควันหลงเชียงใหม่จัดวางฯ ช่วงเวลาที่ศิลปินร่วมสมัยที่ลุยกันมาตั้งแต่ยุค 90 กำลังเข้าไปต่อรองกับกลุ่มประเพณีนิยม/ท้องถิ่นนิยมใน หอศิลป์ มช.ฯ รวมถึงออกไปแสดงพลังในเวทีนานาชาติ เด็กท้องถิ่นก็กำลังแกว่งไกวด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลและสภาวะโลกาภิวัตน์ที่พาสิ่งใหม่ๆ มากมายไหลบ่าเข้ามาให้ลองให้เรียนรู้กัน ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี indie, lomography, graffiti, illustration, graphic art, interactive ซึ่งล้วนแล้วแต่ตั้งตนขบถต่อมาตรฐานที่ปักหลักก่อนหน้าตนมายาวนานในวงการต่างๆ การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จะไม่เติบโตเลยหากไม่มีพื้นที่ให้บ่มเพาะทั้งการสร้างสรรค์ ผลิตมันขึ้นมาให้เห็น และเสพใช้มัน
มินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงแต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเองที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปีก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้ ทั้งเปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่มได้แสดงออก จัดหาตัวเจ๋งๆ จากเมืองอื่นๆ มาให้ได้ดูกัน ชักชวนผู้คนมาสร้างส่วนผสมที่คนอื่นเค้าไม่ผสมกัน
ยังจำได้ถึงงานแสดงผลงานของ วรุฒม์ ปันยารชุน, นิทรรศการจากโครงการ One Year Project ของ The Land Foundation, วิศุทธิ์ พรนิมิตร มาเล่นเปียโนในงานเปิดนิทรรศการภาพวาดของเขา, งานศิลปะจากเพลงของ รงค์ สุภารัตน์, งาน ลายสังเคราะห์ กราฟฟิกเสื้อยืด, แขนหุ่นยนต์ปะทะกับ performance โดย คาเงะ ธีระวัฒน์, ศิลปินที่แปลงร่างเป็นตำรวจมาแจกใบสั่งบังคับให้ทุกคนเมา-มัน ฯลฯ รวมถึงเทศกาล madiFESTO ครั้งแรกก็จัดที่นี่ด้วย นึกถึงงานที่มินิมอล.ทีไร ก็นึกถึงความมันของการที่ไม่สามารถเอาสามัญสำนึกเดิมๆ มาใช้การได้ นั่นทำให้เราได้ฝึกการคิดให้เข้าใจความแตกต่างอยู่เสมอ ภายในบรรยากาศที่ทุกคนที่เข้ามา ต่างหลอมละลายหากันด้วยสุรา ไส้ย่าง และความฮาเฮ ทั้งหมดนี้คงเกิดไม่ได้ถ้าที่ยืนอยู่หลังบาร์มาตั้งแต่วันแรก ไม่ใช่ ทีมมินิมอล.ทีมนี้ ทั้ง เมธ เบียร์ หนึ่ง อ้วน ฯลฯ
อะไรๆ ก็ไม่จีรัง เหล็กฝังไว้กับพื้นยังหายเฉย มินิมอล.จะหายไปก็ไม่แปลกใจ แต่เป็นไปได้ก็อยากบันทึกไว้ ไม่มีที่นี่ ก็คงไม่มีคนรุ่นใหม่ๆ ในหลายๆ สายที่พูดถึงข้างต้น และไม่แตกกอให้ศิลปะแถวนี้มีความเป็นไปได้ที่กว้างขวางดังเช่นทุกวันนี้ ขอบคุณแกลเลอรี่หนึ่งจุดแดงแห่งนี้ สำหรับตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
30 เมษายน 2017, เชียงใหม่
Tweetแม้เมืองเชียงใหม่จะหนาแน่นขึ้นทุกวัน แต่ก็ยังพอมีพื้นที่ให้โลกในฝันสามารถก่อรูปก่อร่างเป็นความจริงขึ้นมาได้อยู่ ที่สุดปลายอำเภอสันกำแพง พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2554 โดยกลุ่มศิลปินที่ต้องการพื้นที่ไว้แสดงจุดยืนให้สังคมได้ทำความเข้าใจความหมายของศิลปะและความเป็นศิลปินให้ชัดเจนขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งรวมฝันของศิลปินนับร้อยคนที่ช่วยกันลงทุนลงแรงสร้างมันขึ้นมา
Konya2023 ได้บูรณะความคิดต่อสถาปัตยกรรมให้เปลี่ยนจากเรื่องของ 'พื้นที่' มาเป็น 'เวลา' เพื่อกำหนดวงจรของการพบปะคนใหม่ๆ โดยการเปิดให้นักสร้างสรรค์สามารถมาเช่าใช้ได้ในราคาถูกแบบจำกัดเวลา กระตุ้นให้พวกเขาใช้โอกาสนี้พัฒนางานของตัวเองให้สำเร็จก่อนต้องย้ายออกไปและขวนขวายการเรียนรู้จากผู้ร่วมอาศัยคนอื่นในช่วงเวลาเดียวกันที่ทำงานแตกต่างกันไปให้ช่วยกันลับคมผลงานให้ดียิ่งขึ้น ที่นี่จึงกลายเป็นชุมชนศิลปินและนักออกแบบที่หมุนเวียนผู้คนมาทำอะไรสนุกๆ กันในย่านไดเมียว ฟุกุโอกะ นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา
เมื่อความเป็นจริงที่แท้จริง ไม่สำคัญ อะไรก็สามารถปลุกเสกให้เป็นความจริงได้ เพียงร่วมกันเชื่ออย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ แม้กระทั่งเหตุผลรองรับความไม่จริง หรือเรื่องเล่าที่ทำให้การหลักการลอยๆ ดูสมเหตุสมผลขึ้นมา ก็เป็นความจริงได้ อย่างเช่นแผนผังที่สร้างขึ้นมารวบทุกสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักการสูงสุดของสังคมมาไว้เป็นกลุ่มของสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ต้องกำจัดไปจากสังคม ก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาใช้แม้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จนเมื่อพบว่าไม่จริง ก็ไม่มีใครใส่ใจจะแก้ไขผลที่เกิดขึ้นไปแล้ว ทั้งที่ยังมีผู้ต้องเจ็บปวดจากมันอยู่ เรื่องอื่นๆ กำลังวนมารอคิวเข้าสู่ความสนใจของสังคม อีกเรื่อง/อีกครั้ง ถ้าไม่รีบทำเป็นลืมปัจจุบันที่กำลังผ่านไป เดี๋ยวจะไม่ร่วมสมัยเท่าคนอื่น
Given its lack of nationality, it makes one wonder from which tradition Paphonsak has drawn to create such painting. It even makes us uncertain as to which model has inspired his works of art. And our understanding shall continue to be mitigated by our fixation on the locality of his works, even though such instinct may be the preliminary factor that influences our beholding of the views so unfamiliar to us.